สีที่เรามองเห็นรอบๆ
ตัวนั้น เกิดขึ้นได้จากการที่ตาของเรารับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุเหล่านั้น
ซึ่งความยาวของคลื่นแสงที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้เรามองเห็นสีที่แตกต่างกันด้วย
และสำหรับงานคอมพิวเตอร์กราฟิกนั้นจะมีการผสมสีที่เกิดจากแสงแสดงบนจอภาพ
หรือการผสมหมึกสีพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์
3.5 ความลึกของสี ( Bit Depth ) คอมพิวเตอร์สามารถสร้างและแสดงสีในภาพได้เป็นหลายล้านสี ดังนั้น คอมพิวเตอร์จะมีวิธีการจดจำและอ้างอิงค่าสีโดยอาศัยดัชนีเป็นตารางสี ตัวอย่างเช่น การ์ดจอที่สามารถแสดงสีได้ 2 บิต ก็จะแสดงสีได้ 4 สี เพราะเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลใน 1 บิต ได้ 2 ค่า คือ 0 และ 1 เราจึงสามารถคำนวณจำนวนสีได้ตามสูตร คือ จำนวนสีที่แสดงได้ = 2 ยกกำลังด้วย จำนวนบิต
3.5 ความลึกของสี ( Bit Depth ) คอมพิวเตอร์สามารถสร้างและแสดงสีในภาพได้เป็นหลายล้านสี ดังนั้น คอมพิวเตอร์จะมีวิธีการจดจำและอ้างอิงค่าสีโดยอาศัยดัชนีเป็นตารางสี ตัวอย่างเช่น การ์ดจอที่สามารถแสดงสีได้ 2 บิต ก็จะแสดงสีได้ 4 สี เพราะเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลใน 1 บิต ได้ 2 ค่า คือ 0 และ 1 เราจึงสามารถคำนวณจำนวนสีได้ตามสูตร คือ จำนวนสีที่แสดงได้ = 2 ยกกำลังด้วย จำนวนบิต
เช่น การ์ดจอที่สามารถแสดงสีได้ 24 บิต ก็จะแสดงสีได้ = 224 =
16.7 ล้านสี เป็นต้น
ปัจจุบันเราจะพบว่าการแสดงผลภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กราฟิก สามารถแสดงสีได้ตั้งแต่
16.7 ล้านสีขึ้นไป เนื่องจากการ์ดจอส่วนใหญ่สามารถแสดงสีได้ตั้งแต่
24 บิตไปจนถึง 32 และ 64 บิต
3.6
โมเดลของสี ( Color Model ) โดยทั่วไปแล้วสีต่างๆ
ในธรรมชาติและสีที่ถูกสร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสีนี้เรียกว่า
“โมเดล (Model)” ดังนั้น
จึงทำให้มีโมเดลหลายแบบดังที่เราจะได้ศึกษาต่อไปนี้ คือ
1.โมเดลแบบ
HSB
ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
2.โมเดลแบบ
RGB
ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.โมเดลแบบ
CMYK
ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
4.โมเดล
Lab
ตามมาตรฐานของ CIE
3.7 โมเดลแบบ HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
เป็นลักษณะพื้นฐานการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์
โมเดล HSB
จะประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะคือ
1. Hue เป็นสีของวัตถุที่สะท้อนเข้ามายังตาของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีได้
ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับที่มีตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบน Standard Color Wheel ซึ่งถูกแทนด้วยองศา
คือ 0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่วๆ
ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้นๆ เป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง
2. Saturation คือสัดส่วนของสีเทาที่มีอยู่ในสีนั้น
โดยวัดค่าสีเทาในสีหลักเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้คือ จาก 0% (สีเทาผสมอยู่มาก)
จนถึง 100% (สีเทาไม่มีเลย หรือเรียกว่า “Full
Saturation” คือสีที่มีความอิ่มตัวเต็มที่) โดยค่า Saturation
นี้จะบ่งบอกถึงความเข้มข้นและความจางของสี ถ้าถูกวัดโดยตำแหน่งบน Standard
Color Wheel ค่า Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบ
โดยค่าที่เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุด
3. Brightness เป็นเรื่องราวของความสว่างและความมืดของสี
ซึ่งถูกกำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์จาก 0% (สีดำ) ถึง 100%
(สีขาว) ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น
ขอขอบคุณที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น